1.ความหมาย ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญมากๆ เพราะผู้ที่อ่านหรือผู้ที่รับสารจะสามารถเข้าใจในการแปลเอกสารของเราหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของบทความนั้นๆ ซึ่งอาจจะครบตามจำนวนคำในต้นฉบับหรือไม่ก็ตามแต่โดยภาพรวมแล้วเนื้อหาของประโยคควรจะอธิบายให้ชัดเจน
2.รูปแบบของการแปล เนื่องจากการแปลนั้นผู้อ่านไม่ได้ยินเสียงและไม่ไดเห็นภาพของผู้ที่เขียนเพราะฉะนั้นรูปแบบของการแปรก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะต้องสามารถสื่ออารมณ์และความรู้สึกให้กับผู้อ่านได้เทคนิคในการใช้แปลภาษา
3.อ่านเนื้อความหรือเนื้อหาทั้งหมดที่เราได้รับมา เพื่อสรุปและทำความเข้าใจก่อนแปลเพื่อที่จะจินตนาการภาพรวมของบทความที่เรากำลังจะทำการแปล
4.คำศัพท์ต่างๆ ผู้ที่แปลนั้นจะต้องรู้ถึงที่มาและต้นกำเนิดของศัพท์ในบางตัวที่ยากต่อการอธิบายหรือความหมายนัยของคำศัพท์นั้นๆ สำหรับในบางคนอาจจะไม่รู้หรือไม่เคยได้เจอกับคำศัพท์ที่แปลออกมามาก่อนเพราะฉะนั้นการเลือกใช้คำก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ
5.หมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เพราะคำศัพท์บางคำนั้นอาจจะเป็นรากศัพท์ที่ไม่นิยมใช้มากสักเท่าไหร่เพราะฉะนั้นการหมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ ก็เป็นผลดีต่อนักแปลภาษาด้วยเช่นกันเพราะถ้าหากเราคิดว่าตัวเองนั้นมีความรู้เพียงพอแล้วเราก็จะหยุดการพัฒนาตัวเองซึ่งอาจจะส่งผลลบหรือทำให้เราก้าวตามคนอื่นไม่ทันถึงแม้ว่าเราจะมีความคิดที่สร้างสรรค์มากกว่าหรือฉลาดมากกว่าแต่การที่เรามั่นใจในความสามารถของตัวเองมากเกินไปก็จะทำให้เรานั้นพบกับข้อผิดพลาดมหันต์เลยก็ได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแปลเอกสารก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้แปลและความเข้าใจต่อเอกสารที่ผู้แปลสามารถรับรู้ได้โดยหลักการแปรหลักๆ ก็คือคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านหลักวัฒนธรรม,กฎหมายหรือไม่ว่าจะเป็นวลีหรือคำแสลงที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะถ้าเราสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ผลงานการแปลของเราก็จะออกมาเป็นที่พึงพอใจทั้งตัวผู้เขียนและผู้อ่าน
28 มีนาคม 2560
ผู้ชม 5814 ครั้ง